พื้นที่โฆษณา

พื้นที่โฆษณา
ทดลอง..อิอิ..*******ขอขอบคุณ..เวปบล็อกต้นแบบดีๆ..อย่าง Thai E-News ของคนรักประชาธิปไตย ที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดเวปบล็อกใหม่ๆ รวมถึงบล็ิอกนี้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอตั้งคณะ กก.อิสระ ตรวจสอบข้อเท็จจริงน้ำท่วมใหญ่ 54


Voicetv 3 พ.ย.54 เสนอตั้งคณะ กก.อิสระ ตรวจสอบข้อเท็จจริงน้ำท่วมใหญ่ 54 อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอผ่านเฟซบุ๊กถึงรัฐบาลจัดตั้งคณะ กก.อิสระตรวจสาเหตุน้ำท่วม เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวให้ประเทศ : อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เสนอข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลผ่านเฟซบุ๊ก โดยเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสืบหาและสรุปข้อเท็จจริง สาเหตุน้ำท่วมใหญ่ 2554 โดยมีข้อความดังนี้
"ผมขอเสนอให้ รัฐบาล ริเริ่ม จัดตั้ง "คณะกรรมการอิสระเพื่อสืบหาและสรุปข้อเท็จจริง สาเหตุน้ำท่วมใหญ่ 2554, วิเคราะห์บทเรียนและประเมินการจัดการวิกฤติน้ำท่วม และทำข้อเสนอแนะ ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต"

ชื่อที่เป็นทางการ หรูๆ คงคิดกันเองได้ ผมเขียนยาวๆ เพื่อให้เห็นว่า คณะกรรมการที่ว่านี้ ควรมีภาระหน้าที่ อะไร ซึ่ง ในความเห็นผม มี 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
1. สืบสวนและสรุปข้อเท็จจริง สาเหตุน้ำท่วมใหญ่
2. วิเคราะห์บทเรียนและประเมินการจัดการวิกฤติน้ำท่วม
3. ทำข้อเสนอแนะวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้นอีกในอนาคต

องค์ประกอบ ก็คงประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญน้ำต่างๆ และที่สำคัญ ผมเสนอว่า ควรมีตัวแทนทั้งพรรคฝ่ายรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน ร่วมด้วย เพราะปัญหาน้ำ จะเป็นปัญหาระยะยาว ไม่ว่า พรรคไหนขึ้นมาเป็นรัฐบาลในอนาคต ผมทราบว่า นี่อาจจะดู "เร็ว" เกินไป สำหรับวินาทีนี้ ทีวิกฤติยังไม่ผ่านพ้น
แต่ผมเห็นรัฐบาลเอง และหลายฝ่าย เริ่มพูดถึง "แผนการฟื้นฟู" กันแล้ว ซึ่งนั่น ก็เป็นเรื่องอนาคตเช่นกัน ดังนั้น การริเริ่ม เตรียมตั้ง กรรมการ ที่เสนอนี้ จึงไม่อาจนับว่า "เร็ว" ไป

แน่นอน กว่าจะลงมือทำงานจริง คงต้องรอให้วิกฤตใกล้จบ หรือจบแล้ว (เพราะหลายคน ตอนนี้ ก็คงยังมีภารกิจช่วยเรื่องน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่) แต่ผมว่า น่าจะริเริ่ม ได้ตั้งแต่ตอนนี้ จะถึงขั้นประกาศตั้งจริงเลยตอนนี้หรือไม่ ผมว่า ก็แล้วแต่ความพร้อม อาจจะแค่ทาบทาม หรือนำเสนอไอเดียของการตั้งกรรมการ ก็ได้ "
http://news.voicetv.co.th/thailand/22362.html


รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรยอมรับแล้ว น้ำท่วมเกิดจากฝีมือมนุษย์ที่ไปสั่งรัฐบาลอภิสิทธิ์และกรมชลกักน้ำ ปล่อยให้น้ำท่วมถล่มประชาชน
โดยอินไซด์ ไทยแลนด์เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2011 เวลา 11:33 น.

ธีระชี้ใครทำกรรมต้องรับกรรม

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงข่าวได้พูดแสดงความไม่พอใจในที่ประชุมร่วมกับนายกฯ ที่ศปภ. กรณีให้ระบายน้ำลงฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ว่าคงเห็นกันแล้วว่าเสียหายแค่ไหน ตนไม่อยากนำเรื่องเก่ารื้อฟื้นออกมาอีก ใครทำเวรกรรมอะไรไว้ต้องรับกรรมกันเอง และจากนี้ไปกรมชลประทานจะทำหน้าที่บริหารน้ำฝั่งตะวันตกด้านเหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไปอย่างเต็มที่ ด้วยวิธีปล่อยน้ำจากเขื่อนให้ลดน้อยลง ส่วนใต้คลองมหาสวัสดิ์ที่เป็นเขตกรุง เทพฯ คงไปยุ่งไม่ได้ ต้องปล่อยให้น้ำระบายไปตามคลองต่างๆเอง แต่จะบริหารไม่ให้มีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น
-----------------------------------------------------------------------------------

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ฝนตกปีนี้มากกว่าเฉลี่ยเท่าไร และ จนท ควรตื่นตัว รู้ตัว ว่า อาจจะไม่ควรกักน้ำในเขื่อนมากไป แต่ทะยอยปล่อยออกมา ตั้งแต่เมื่อไร?

คุณ Bangkok Pundit ซึ่งโพสต์กระทู้เกี่ยวกับกรณีการเก็บน้ำในเขื่อนมากไปนานเกินไปมาตลอด มีกระทู้ใหม่ โดยเอาตัวเลขฝนตกของปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม เป็นต้นมา มาแสดง แล้วตั้งคำถาม อย่างที่ผมสรุปข้างบนคือ เมื่อดูจากตัวเลขฝนตกในแต่ละเดือนแล้ว จนท ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บน้ำในเขื่อน ควรจะเริ่มรู้ตัว หรือตื่นตัวว่า ปีนี้ ปริมาณน้ำ อาจจะมากผิดปกติ และควรต้องหาทางระบายน้ำจากเขื่อนแต่เนื่อน เมื่อไร?

สนใจอ่านรายละเอียด ภาษาอังกฤษ ที่นี่ http://asiancorrespondent.com/67987/the-thai-floods-rain-and-water-going-into-the-dams-%E2%80%93-part-2/

ในที่นี้ ผมสรุปให้ดู อย่างสั้นๆ

มกราคม - ฝนตกน้อยกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น 10%
กุมภาพันธ์ - ฝนตกน้อยกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น 40% และน้อยกว่าปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมจากมกราคม 30 %

(ผมคิดว่า นี่คือ "แบ็คกราวน์" ของการที่ต้นปี หลายคนคาดว่าจะเกิด "ภัยร้าย" ใหญ่ รวมทั้ง ดร.สมิธ เอง เพราะปริมาณฝน 2 เดือนแรก น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 30% นี้เอง)

มีนาคม - ฝนตกมากกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น ถึง 334% และมากกว่าปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมจากมกราคม ถึง 183% และเฉพาะบริเวณเขื่อนภูมิพล มีฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยของเดือนนั้น 224.7 มิลลิเมตร หรือมากกว่า ค่าเฉลี่ยสะสมจากเดือนมกราคม 216 มิลลิเมตร

คุณ BP แสดงความเห็นว่า ตั้งแต่ปลายมีนาคม ที่ได้ตัวเลขเหล่านี้ จนท ควรจะเริ่มตื่นตัว และคิด ให้ความสนใจแล้ว โดยเฉพาะ ตัวเลขที่แสดงปริมาณฝนทีบริเวณเขื่อนภูมิพลเอง

เมษายน - ฝนตกมากกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น 76% และมากกว่าปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมจากมกราคม ถึง 117%

พฤษภาคม - ฝนตกมากกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น 41% และมากกว่าปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมจากมกราคม 71%

คุณ BP แสดงความเห็นว่า ถ้า 2 เดือนก่อนนี้ (มีนา-เมษา) อาจจะถือว่า ฝนตกมากกว่าปกติเป็นพิเศษ (anomaly) แต่ยังไม่ใช่เป็นแนวโน้ม (trend) แต่มาถึงเดือนพฤษภาคม ที่ตัวเลขฝนมากสะสมจากมกราคม สูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 71% จนท ควรจะเริ่มวิตกได้แล้ว

มิถุนายน - - ฝนตกมากกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น 43% และมากกว่าปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมจากมกราคม 60%

กรกฎาคม - ฝนตกมากกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น 43% และมากกว่าปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมจากมกราคม 56%

สิงหาคม - ฝนตกมากกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น 22% และมากกว่าปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมจากมกราคม 47%

กันยายน - ฝนตกมากกว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยของเดือนนั้น 46% และมากกว่าปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมจากมกราคม 46%

ในที่สุด ถึงปลายกันยายน ตัวเลขฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยสะสมจากเดือนมกราคม 46% ซึ่งอาจจะดูไม่มากจนเกินไป แต่ต้องไม่ลืมว่า ถึงตอนนั้น การเก็บบน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิต์ ได้อยู่ในระดับเกือบเต็มแล้ว และการปล่อยออกมา ก็กลับยังต่ำกว่าปี 2553 ด้วยซ้ำ จริงๆ เพิ่งมาปล่อยมากกว่าปี 2553 ในเดือนตุลาคมนี้เอง (ดูกระทู้เก่าของคุณ BP ที่นี่ http://asiancorrespondent.com/67306/thailand-why-was-so-much-water-kept-in-the-dams-part-ii/ ) ซึ่งถึงตอนนั้น บวกกับค่าเฉลี่ยสะสมของน้ำฝนที่มากขึ้น 46% นี้ และบวกกับต้นเดือนตุลาคม มีมรสุมลูกใหญ่เข้ามาอีก ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น