พื้นที่โฆษณา

พื้นที่โฆษณา
ทดลอง..อิอิ..*******ขอขอบคุณ..เวปบล็อกต้นแบบดีๆ..อย่าง Thai E-News ของคนรักประชาธิปไตย ที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดเวปบล็อกใหม่ๆ รวมถึงบล็ิอกนี้ด้วย

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

นายกฯแจงสถานการณ์สู้ภัยน้ำล่าสุด จัดการเป็นบล็อกๆ


วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 13:34 น. ข่าวสดออนไลน์

นายกฯแจงสถานการณ์สู้ภัยน้ำล่าสุด จัดการเป็นบล็อกๆ

เมื่อเวลา 08.45 น. วันที่ 31 ต.ค. ที่ศปภ. กระทรวงพลังงาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ผู้ว่ากทม.ไม่เชื่อว่าน้ำเหนือที่จะเข้ากทม.หมดไปแล้วตามที่ศปภ.ระบุ ว่า ได้ฟังข่าวแล้ว ก็เชื่อว่าเราคุยกันคนละมุม ที่ศปภ.เคยระบุว่าน้ำก้อนใหญ่ปริมาณเป็นหมื่นล้านลบ.ม. วันนี้ที่สบายใจขึ้น เพราะมวลน้ำก้อนนั้นระบายออกไปด้านคลองและตะวันออกมากขึ้น จึงทำให้ปริมาณน้ำที่มาจากจังหวัดนครสวรรค์และชัยนาทลดลง และบางส่วนก็ได้ระบายน้ำลง ดังนั้นก้อนใหญ่จะไม่เห็น

แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีน้ำมาเข้ากทม.อีก นั่นคือสิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม.บอกว่าไม่เชื่อว่าไม่มีน้ำ คือมีน้ำแต่ไม่ใช่มวลก้อนใหญ่ เป็นน้ำที่ไหลมาจากจ.นครสวรรค์ ชัยนาทที่ค่อยๆ ไหลลงมา ดังนั้น หลังจากนี้ ถ้าระดับน้ำทะเลหนุนลดลง น้ำก็จะแห้งลง จะสามารถระบายน้ำจากคลองข้างในออกสู่ทะเลมากขึ้น น้ำมวลน้ำที่อยู่ทางเหนือก็จะได้ไหลมาตามคันคลองและตามระบบสูบน้ำ สามารถผลักดันน้ำที่ติดตั้งไว้ได้

ในกทม.หากไม่มีน้ำก้อนอื่นเข้ามา การไหลก็อาจจะไม่ทำให้ท่วมมาก แต่อาจจะมีการเจิ่งนองบ้างเล็กน้อยตามแนวคันคลองบ้างเท่านั้น แต่สุดท้ายก็ไหลลงทะเล

ผู้สื่อข่าวถามว่า ปริมาณน้ำที่ระบายออกทั้งทางตะวันออกและตะวันตกของกทม.มากน้อยแค่ไหน นายกฯ กล่าวว่า ตะวันออกก็ไปได้มากขึ้น ส่วนตะวันตกยังไม่ลงข้างล่าง ซึ่งพยายามหารือกันเพื่อให้ออกทางตะวันตกและลงทะเลตามที่ได้ขุดคลองในด้านใต้เอาไว้ ทีมงานกำลังหารือเพื่อเร่งระบายน้ำ

คณะทำงานประชุมกันทุกวัน และมีความเป็นเอกภาพร่วมกับกทม. จะพบว่าฝั่งตะวันตกที่ทำได้ยากเพราะส่วนใหญ่คลองฝั่งตะวันตกจะเป็นแนวขวาง จึงไม่ไหลลงทะเล ดังนั้นต้องผลักดันโดยการสูบและผลักดันออกทางตะวันตกให้มากขึ้น ขณะเดียวกันติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อให้ไหลลงทางตรงสู่ทะเลบริเวณจ.สมุทรสาครให้มากขึ้นด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่าประเมินว่าสถานการณ์น้ำที่จะท่วมกทม.เข้าไปถึงชั้นในขนาดไหนนายกฯกล่าวว่า วันนี้ระดับน้ำทะเลต่างจากเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ประมาณ 2 เซนติเมตร ดีขึ้น เพียงแต่ชาวกทม.จะรู้สึกว่าน้ำยังไม่ลดลง เพราะแนวคลองบางที่ซ่อมไม่เสร็จจึงทำให้น้ำไหลเข้ามา ซึ่งก็ได้เร่งรัดไปหลายจุดแล้วเช่น ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ และ ท่อน้ำลอด(ไซฟ่อน)ที่รังสิต โดยมีภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ และมีจุดสำคัญมีอยู่ 2-3 จุดที่เร่งซ่อมแซมอยู่ถ้าเสร็จก็คงเบาใจได้มากขึ้น

เมื่อถามว่า มวลน้ำที่ยังเหลืออยู่มีปริมาณเป็นหมื่นล้านลบ.ม.เลยหรือ นายกฯ กล่าวว่า คือถ้ารวมๆ กันนั้นใช่ แต่เราบริหารเป็นบล๊อกๆ จะลดความเสี่ยงลงได้ และทำให้แต่ละบล็อกนั้นระบายลงทะเลได้โดยเร็ว แต่ถ้าเราไม่บริหารแล้วปล่อยลงมาทั้งก้อนมันก็จะลงมาโถมเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งอาจจะควบคุมไม่อยู่

ดังนั้นแต่ละบล็อก จะบริหารโดยปิดคันคลอง ปิดประตูระบายน้ำเพื่อให้ออกด้านตะวันออกของกรุงเทพ ซึ่งก็ดีขึ้น ทำให้การชะลอน้ำมาไม่รุนแรง ดังนั้นน้ำที่พี่น้องชาวกทม.ประสบนั้นจะไม่มีสภาพรุนแรงเหมือนที่ต่างจังหวัดประสบ อย่างไรก็ตาม ขอเรียนว่ามีความเห็นใจประชาชนทุกส่วนไม่ว่ากทม. ต่างจังหวัดด้วย อาทิ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และอยุธยา ที่น้ำยังไม่ลดก็ต้องขอเวลาว่าให้น้ำทะเลลงก่อนถึงจะเข้ามาทำงานได้

หลังจากวันที่31ต.ค.นี้จะประชุมสรุปอีกครั้งว่าระดับน้ำเป็นอย่างไร การแก้ปัญหาตามจุดต่างๆเป็นอย่างไร หากเป็นไปตามแผนก็น่าจะสามารถให้ความไว้วางใจได้ในระดับหนึ่ง

เมื่อถามว่า ในวันที่ 1 พ.ย.ประกาศได้เลยหรือไม่ว่าน้ำวางใจได้ นายกฯ กล่าวว่า คงไม่สามารถประกาศอย่างนั้นได้เพราะต้องดูผลว่าประตูระบายน้ำต่างๆ ที่บางส่วนมีการซ่อมแซม แต่คงบอกได้ว่าสถานการณ์จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหรือไม่

เมื่อถามว่า งบฯฟื้นฟูประเทศที่ครม.เตรียมไว้หลังน้ำลด น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า จากที่ได้มีการบริหารจัดการโดยตัดงบประมาณจากกระทรวงต่างๆ รวม 80,000 ล้านบาท และยังไม่รวมวงเงินสินเชื่อที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือทั้งธนาคารรัฐ และพาณิชย์ทั้งหมด 300,000 กว่าล้านบาท ซึ่งจะเป็นสินเชื่อวงเงินพิเศษให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย

ยืนยันว่า จะช่วยเหลือดูแลทุกกลุ่ม ไม่ว่าภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือรายย่อย หรือประชาชนทุกๆคน รัฐจะต้องช่วยเหลือดูแล นอกจากนั้นยังไม่รวมเรื่องการบูรณาการระยะยาว ซึ่งภาครัฐจะประกาศอีกครั้งเพื่อระดมเงินในส่วนนี้

เมื่อถามว่าจะใช้เวลาฟื้นฟูประเทศนานแค่ไหน จะใช้เวลา 3 เดือนตามที่พ.ต.ท.ทักษิณระบุ หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า บางส่วนก็ต้องทยอยทำ เบื้องต้นเร็วสุดคือ 3 เดือน เป็นการเร่งระบายน้ำ เพื่อกอบกู้ถนน และอื่นๆ อย่างนิคมฯก็ต้องเร่งสูบน้ำ อุปกรณ์ที่จะรองรับฟื้นฟูต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหารือร่วมกับนิคมเพื่อวางแผนร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น